วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554






สรุปผลการเลือกตั้ง







สำหรับผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ มีดังนี้



1.พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต 201 คน บัญชีรายชื่อ 61 คน รวม 262 คน
2.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 116 คน บัญชีรายชื่อ 44 คน รวม 160 คน
3.พรรคภูมิใจไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต 29 คน บัญชีรายชื่อ 5 คน รวม 34 คน
4.พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส.แบ่งเขต 15 คน บัญชีรายชื่อ 4 คน รวม 19 คน
5.พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส.แบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 7 คน
6.พรรคพลังชล ได้ ส.ส.แบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 7 คน
7.พรรครักประเทศไทย ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 4 คน
8.พรรคมาตุภูมิ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 1 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 2 คน
9.พรรครักษ์สันติ ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
10. พรรคประชาธิปไตยใหม่ ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
11.พรรคมหาชน ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน



สรุปผลการเลือกตั้ง 54




สำหรับผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ มีดังนี้
1.พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต 201 คน บัญชีรายชื่อ 61 คน รวม 262 คน
2.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 116 คน บัญชีรายชื่อ 44 คน รวม 160 คน
3.พรรคภูมิใจไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต 29 คน บัญชีรายชื่อ 5 คน รวม 34 คน
4.พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส.แบ่งเขต 15 คน บัญชีรายชื่อ 4 คน รวม 19 คน
5.พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส.แบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 7 คน
6.พรรคพลังชล ได้ ส.ส.แบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 7 คน
7.พรรครักประเทศไทย ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 4 คน
8.พรรคมาตุภูมิ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 1 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 2 คน
9.พรรครักษ์สันติ ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
10. พรรคประชาธิปไตยใหม่ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
11.พรรคมหาชน ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน

และถ้าหากตรวจสอบคะแนน ส.ส.บัญชีรายชื่อเป็นรายภาค จะพบว่า
- ภาคเหนือ เลือกพรรคเพื่อไทย 49.69% พรรคประชาธิปัตย์ 29.67% พรรคชาติไทยพัฒนา 3.60% พรรคภูมิใจไทย 2.00% พรรครักประเทศไทย 1.86% พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 0.93% พรรคมหาชน 0.57% พรรครักษ์สันติ 0.50% พรรคอื่น ๆ อีก 11.18%
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เลือกพรรคเพื่อไทย 63.49% พรรคประชาธิปัตย์ 13.45% พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 3.32% พรรคชาติไทยพัฒนา 2.08% พรรครักประเทศไทย 1.34% พรรครักษ์สันติ 0.42% พรรคกิจสังคม 0.34% พรรคอื่น ๆ อีก 15.56%
- ภาคกลาง เลือกพรรคเพื่อไทย 38.8% พรรคประชาธิปัตย์ 35.14% พรรคชาติไทยพัฒนา 4.12% พรรครักประเทศไทย 4.1% พรรคภูมิใจไทย 3.36% พรรคพลังชล 1.67% พรรครักษ์สันติ 0.99% พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 0.55% พรรคมาตุภูมิ 0.50% พรรคอื่น ๆ อีก 10.77%
- ภาคใต้ เลือกพรรคประชาธิปัตย์ 70.42% พรรคเพื่อไทย 7.63% พรรคมาตุภูมิ 3.3% พรรคภูมิใจไทย 2.94% พรรครักประเทศไทย 2.07% พรรคชาติไทยพัฒนา 1.03% พรรคแทนคุณแผ่นดน 0.91% พรรคมหาชน 0.72% พรรคประชาธรรม 0.57% พรรคประชาธิปไตยใหม่ 0.50% พรรคอื่น ๆ อีก 9.91%
- กรุงเทพมหานคร เลือกพรรคประชาธิปัตย์ 41.62% พรรคเพื่อไทย 39.69% พรรครักประเทศไทย 6.89% พรรครักษ์สันติ 2.66% พรรคมาตุภูมิ 0.39% พรรคชาติไทยพัฒนา 0.34% พรรคกิจสังคม 0.27% พรรคภูมิใจไทย 0.26% พรรคอื่น ๆ อีก 7.88%
พรรคร่วมรัฐบาล
สำหรับการจัดตั้งรัฐบาลโดย ว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกคนไทย ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพรรคการเมืองเข้าร่วมรัฐบาลคือ
พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน พรรคพลังชล พรรคมหาชน และพรรคประชาธิปไตยใหม่ - พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส จำนวน 262 ที่นั่ง
- พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส จำนวน 19 ที่นั่ง
- พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส จำนวน 7 ที่นั่ง
- พรรคพลังชล ได้ ส.ส จำนวน 7 ที่นั่ง
- พรรคมหาชน ได้ ส.ส จำนวน 1 ที่นั่ง
และพรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 ที่นั่ง
รวม 300 ที่นั่ง









องค์กรมรดกโลก






มรดกโลก (อังกฤษ: World Heritage Site; ฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
ใน พ.ศ. 2553 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 911 แห่ง แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และมรดกโลกแบบผสม 27 แห่ง ตั้งอยู่ใน 151 ประเทศ โดยอิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 44 แห่ง แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 ไปแล้วแม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม
มรดกโลกแต่ละแห่งเป็นทรัพย์สินของประเทศที่เป็นเจ้าของดินแดนที่มรดกโลกตั้งอยู่ แต่ได้ถูกพิจารณาให้เป็นผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศในการอนุรักษ์มรดกโลกแห่ง

ประเภทของมรดกโลก
มรดกโลกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) และ มรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage) ซึ่งในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกได้ให้คำนิยามไว้ว่า
มรดกทางวัฒนธรรม หมายถึง สถานที่ซึ่งเป็นโบราณสถานไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ หรือกลุ่มสถานที่ก่อสร้างยกหรือเชื่อมต่อกันอันมีความเป็นเอกลักษณ์ หรือแหล่งสถานที่สำคัญอันอาจเป็นผลงานฝีมือมนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกันระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ซึ่งสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าความล้ำเลิศทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ มนุษยวิทยา หรือวิทยาศาสตร์
มรดกทางธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพอันมีคุณค่าเด่นชัดในด้านความล้ำเลิศทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสถานที่ซึ่งมีสภาพทางธรณีวิทยาและภูมิประเทศที่ได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์ ซึ่งถูกคุกคาม หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ที่หายาก เป็นต้น

ขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิกมรดกโลก
ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้น ทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและ วัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับการ เสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อ เบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้
เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบและพิจารณาจากองค์กร 2 แห่ง ได้แก่ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (International Council on Monuments and Sites) และ สหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ (World Conservation Union) แล้วทั้งสององค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถาน ที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐาน ข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ

เว็บไซต์ทางการยูเนสโก ระบุผลการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 35 กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลก ปี 2554 ซึ่งเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ และแบบผสม จำนวน 25 แห่ง โดยแบ่งเป็น แหล่งทางวัฒนธรรม 21 แห่ง แหล่งทางธรรมชาติ 3 แห่ง และแบบผสม 1 แห่ง ทำให้ขณะนี้มีแหล่งมรดกโลกที่มีการขึ้นทะเบียนแล้วทั้งหมด 936 แห่ง เป็นวัฒนธรรม 725 แห่ง ธรรมชาติ 183 แห่ง แบบผสม 28 แห่งสำหรับมรดกโลกปี 2554 ทางวัฒนธรรม ได้แก่
1. โบราณคดีของเกาะ Meroe ซูดาน
2. ป้อมปราการราชวงศ์โฮปลายศตวรรษที่ 14 เวียดนาม
3. พื้นที่กาแฟภูมิทัศน์วัฒนธรรมของโคลัมเบีย
4. ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของ Serra de Tramuntana สเปน
5. แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของ Al Ain สหรัฐอาหรับเอมิ
6. โรงงาน Fagus เยอรมนี
7. สถาปัตยกรรมในยุคอาณานิคมของอังกฤษ ศตวรรษที่ 18 -19 บาเบร์ดอส
8. Longobards อิตาลี ประกอบด้วย 7 กลุ่มของอาคารที่สำคัญ
9. เสาเข็มยุคก่อนประวัติศาสตร์รอบเทือกเขาแอลป์ ครอบคลุมออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สโลวิเนีย และสวิสเซอร์แลนด์
10. นิเวศวิทยา การประมงและรวบรวมหอยมีชีวิตและการใช้ของมนุษย์อย่างยั่งยืน เซเนกัล
11. สวนเปอร์เซีย อิหร่าน
12. ภูมิทัศน์ทะเลสาบวัฒนธรรมของหางโจว จีน
13. วัดฮิไรซุมิ วัดที่เป็นตัวแทนของพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์ ญี่ปุ่น
14. Konso ภูมิทัศน์วัฒนธรรม เอธิโอเปีย
15. มอมบาซา เคนยา
16. คอมเพล็กซ์มัสยิด Selimiye Edirne ตุรกี
17. ภาพแกะสลักหินและอนุสาวรีย์ศพของวัฒนธรรมในมองโกเลีย อัลไต 12,000 ปีที่ผ่านมา
18. ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเกษตรเมดิเตอร์เรเนียน ฝรั่งเศส
19. อนุสาวรีย์แสดงการเปลี่ยนแปลงจากบาร็อคกับสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิค นิคารา
20. สถาปัตยกรรมสไตล์เช็ก ยูเครน
21. หมู่บ้านแบบโบราณในภาคเหนือของซีเรีย
ส่วนแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ
1. นิงกาลูโคสต์ แนวปะการัง ออสเตรเลีย
2. หมู่เกาะโอกาซาวาร่า( Ogasawara) ซึ่งมีเกาะมากกว่า 30 เกาะ รวมความหลากหลายของสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น ค้างคาว ญี่ปุ่น
3. ทะเลสาบเคนยา และแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมแบบผสม ได้แก่ ทะเลทรายวาดิรัม พื้นที่คุ้มครอง จอร์แดน นอกจากนี้ มีพื้นที่ขยายที่ขึ้นทะเบียนอีก 1 แห่ง ป่าไม้บีชดึกดำบรรพ์คลุมเยอรมนี สโลวาเกีย และยูเครน
อย่างไรก็ดตาม คณะกรรมการฯ ได้พิจารณามรดกโลก 2 แห่ง ซึ่งอยู่ในภาวะอันตราย ได้แก่ มรดกป่าฝนในเขตร้อนชื้นของเกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย และพื้นที่ลุ่มน้ำของริโอ ฮอนดูรัส

มรดกไทยที่เป็นมรดกโลก

1.อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 สาเหตุที่ได้รับ
เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด
เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
2.อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ได้รับพร้อมกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
3.อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ได้รับพร้อมกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
4.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 สาเหตุที่ได้รับ
เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความหนาแน่นของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย
5.ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2548 สาเหตุที่ได้รับ
เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

สาเหตุที่ไทยถอนตัวจากมรดกโลก

วันนี้ (27มิ.ย.54) เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. เวลาประมาณ 23.50 น. ตามเวลาประเทศไทย นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ประกาศในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ยูเนสโก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ผ่าน ทวิตเตอร์ @Suwit_Khunkitti ระบุว่า น่าเสียดายนะครับที่หน่วยงานนานาชาติที่มีภารกิจส่งเสริมการศึกษาและวัฒนธรรม จะลืมหน้าที่ของตนเองจนทำให้เกิดความขัดแย้งกันในภาคีสมาชิก การตัดสินใจที่คณะกำลังจะดำเนินการในไม่กี่นาทีข้างหน้านี้ เป็นไปเพื่อไม่ยอมให้ใครใช้ข้ออ้างในการรุกเข้ามาในพื้นที่ที่เป็นอธิปไตยของเรา

ที่ประชุมบรรจุวาระ ผมไม่มีทางเลือกครับ คงต้องถอนตัว ผมได้เคยพูดกับสื่อไทยไปว่า หากสังคมใดดำเนินการตามใจตนเอง ไม่คิดถึงกฎระเบียบที่ลงมติโดยสมาชิกแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ใดๆ ที่เราจะอยู่ในสังคมแบบนี้ กำลังแถลงต่อที่ประชุมครับ คณะผู้แทนพยายามเข้าใจ อธิบาย และอดทนรออย่างเต็มที่แล้ว ผมและคณะนำประเทศไทยถอนตัวจากการเป็นสมาชิกมรดกโลกแล้วครับทั้งนี้นายสุวิทย์ได่นำหนังสือลาออกจากสมาชิกมรดกโลก แสดงต่อสื่อมวลชน http://t.co/nmsJWHKด้าน ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวทีเอ็นเอ็น ได้รายงาน ถึงการถอนตัวของประเทศไทย ว่า นายสุวิทย์ ได้ประกาศว่าประเทศไทยขอลาออกจากการเป็นสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก โดยให้เหตุผลว่าการที่คณะกรรมการมรดกโลก ได้นำมติวาระการประชุมที่กัมพูชาเสนอมานำเข้าสู่กระบวนการพิจารณา ซึ่งไทยยืนยันมาตลอดว่าเป็นการไม่ถูกต้อง หรือ สัญญาอาจจะทำให้ไทยสุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดน ตรงนี้ไทยไม่เคยยอมรับ ขณะที่ประเทศไทยพยายามจะคัดค้านมาโดยตลอด แต่ในเมื่อจะเข้าสู่กระบวนการโหวต ไทยจึงต้องขอใช้สิทธิ์ ในการถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งถือว่าเป็นชาติแรกของโลก ที่ประกาศออกจากสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกอ่านรายงานการถอนตัวในที่ประชุม

วันนี้ การประชุมทั้งวันเป็นไปอย่างเคร่งเครียด จนเมื่อถึงจุดที่นายสุวิทย์ ประกาศลาออกนั้น ทุกชาติค่อนข้างตกใจเพราะว่า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งแรก และ ตอนนี้เป็นที่ยืนยันชัดเจนว่า ไทยเราประกาศลาออกจากการเป็นสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก และ มีผลโดยทันที ซึ่งขณะยังไม่ทราบท่าทีของกัมพูชาจะเป็นอย่างไร หลังจากกรรมการยืนยันนำเรื่องของกัมพูชาเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลก
ส่วนประเทศสมาชิกมีบรรยากาศค่อนข้างตกใจ กำลังกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของคณะกรรมการแต่ละคน แต่ผลของการลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลกนั้น ทำให้ไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการก็สิ้นสุดลงทันทียื่นหนังสือถอนตัวให้ยูเนสโกอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ นายสุวิทย์ ได้นำจดหมาย และแถลงให้ผู้สื่อข่าวฟัง ถึงมุมมองในการตัดสินใจ และรวมถึงบรรยากาศในห้องประชุม ยืนยันว่า เป็นการกระทำที่ได้ไตร่ตรอง และ ผ่านการศึกษาหารืออย่างรอบคอบ รวมถึงได้รับการอนุมัติจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว











วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554



เวลา ความสำคัญของเวลา







เวลา (Time) เป็นทรัพย์สินที่มีค่า และไม่สามารถหาสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาทดแทนได้ บุคคลผู้ประสบ
ผลสำเร็จ ล้วนแล้วแต่รู้จักใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด การบริหารเวลาจึงถือเป็นความจำเป็นที่นักบริหาร
จะต้องตระหนัก และให้ความสำคัญ เพราะผู้บริหารเวลาเป็นก็คือผู้บริหารชีวิตเป็น
1. ความหมายของเวลาและความสำคัญของเวลา
1.1 ความหมายของเวลา
เวลา (Time) คือ มาตรวัดทุกสิ่งทุกอย่างเป็นตัวแปรที่ต่อเนื่อง (Continuous Variable)
1.2 ประเภทของเวลา
1.2.1 เวลาทางกายภาพ (Physical Time) เป็นเวลาในเชิงสมมติใช้หน่วยเป็น ปี เดือน สัปดาห์ วัน ชั่วโมง นาที และวินาที
1.2.2 เวลาทางจิต (Psychological Time) เป็นเวลาตามความรู้สึกตามแต่การรับรู้
ของบุคคลแต่ละคนซึ่งจะแตกต่างกันไป เช่น วัดเป็นความเร็ว ความช้า และความเบื่อหน่าย ฯลฯ
1.3 ความสำคัญของเวลา
1.3.1 เวลาคือชีวิต ไม่มีวันย้อนกลับ ไม่มีอะไรมาทดแทนได้
1.3.2 การปล่อยให้เวลาเสียไปเปล่า ๆ เท่ากับเป็นการปล่อยให้ชีวิตเสียไปเปล่า
1.3.3 การเป็นนายเหนือเวลาเท่ากับเป็นนายเหนือชีวิตอันจะได้รับประโยชน์สูงสุด

2. การบริหารเวลา
2.1 ความหมายของการบริหารเวลา
ศาสตราจารย์ Harold Koontz ให้ความหมายว่าการบริหารคือการดำเนินงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยอาศัยปัจจัยทั้งหลาย ได้แก่ คน เงิน วัสดุ เป็นอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานนั้น
2.2 ความหมายของการบริหาร
การบริหารเวลา คือ กระบวนการทำงานอย่างมีระบบ โดยใช้เวลาน้อยแต่ให้ผลคุ้มค่ามากสุด
3. การบริหารเวลาให้เกิดประสิทธิภาพ
3.1 การวางแผน (Planning)
3.1.1 การวางแผน เป็นหลักสำคัญของการทำงานการเรียน การทำงาน จึงต้องกำหนดจุดหมายใช้เวลาที่ประหยัด และก่อให้เกิดงานที่มีประสิทธิภาพ
3.1.2 ควรกำหนดแบบงานแต่ละปี เดือน สัปดาห์ และวัน
3.1.3 ฝึกใช้ปฏิทินในการวางแผนจนเป็นนิสัย
3.1.4 แม้ว่าการวางแผนจะต้องสิ้นเปลืองเวลาในตอนเริ่มแรก แต่ในขั้น
สุดท้าย การวางแผนจะช่วยรักษาเวลาและให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า
3.2 การจัดเวลาให้เหมาะสมงาน
3.2.1 กำหนดและจัดลำดับความสำคัญของงานไว้ในแผนการทำงาน
3.2.2 งานใดที่ไม่สำคัญหรือกิจกรรมใดที่ไม่เกิดประโยชน์ควรตัดทิ้งไป
3.2.3 ให้เวลาสำหรับงานที่สำคัญ ๆ เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพของงานมากที่สุด
3.2.4 แยกประเภทของงานไว้ให้ชัดเจน แล้วจัดทำพร้อมกัน เพื่อประหยัดเวลา
3.2.5 ทำให้เสร็จเป็นอย่าง ๆ ไปอย่างมีระบบเสมอ
3.3 การจัดเวลาให้เหมาะสมกับคน
3.3.1 ควรตัดเวลาที่เกี่ยวกับงานสังคม หรือการประชุมที่ไม่จำเป็น
3.3.2 ควรปฏิเสธบุคคลที่ขอติดต่อพบปะบ้าง ทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง
3.3.3 ให้บุคคลอื่นมีส่วนแบ่งภาระความรับผิดขอบงานตามสมควร
3.3.4 มอบหมายงานกระจายงานให้บุคคลอื่น ควรทำอย่างมีประสิทธิภาพกำหนดวัตถุประสงค์ในการทำงานที่ชัดเจน
3.3.5 ควรสร้างบรรยากาศการทำงานให้เกิดขึ้นเสมอ หาแนวทางให้รบกวนสมาธิการทำงานให้น้อย
3.4 การสั่งการ/เตือนคนเสมอ
3.4.1 สร้างวิธีที่ฉลาดขึ้น แต่ไม่ใช่คลั่งการจัดระบบจนเกินไป
3.4.2 ทำอะไรให้ลุล่วงไปเป็นขั้นตอน แต่ไม่ใช่ใสใจแต่การจัดระบบแต่ไม่ทำอะไรเลย
3.4.3 ทำอะไรมากเกินไป จนไม่เคยประเมินคุณค่าที่แท้จริงของผลงาน
3.4.4 จงทำงานวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานนี้ และทำวันพรุ่งนี้ให้ดีกว่าวันนี้
3.4.5 การทำอะไรอย่างสมบูรณ์ ชนิดไม่มีดีนี้นเปลืองเวลาโดยใช่เหตุ
3.4.6 ฝึกฝนการตัดสินใจเพื่อทำงานตามที่เห็นว่าเหมาะสมให้ทันเวลา
3.5 การควบคุมการทำงานเพื่อการมีเวลาที่ดีกว่า
3.5.1 การรู้จักใช้เวลาคือการรู้จักวิธีการทำงานที่ฉลาด นั่นแสดงว่าจะมีเวลาสำหรับตัวเอง สำหรับครอบครัวและสำหรับสังคมมากขึ้น
3.5.2 อย่าทำตนเป็นบุคคลที่แยกตนออกจากงานไม่ได้ในบางครั้งหยุดพักผ่อนตามสมควรพอเหมาะ การทำงานติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน อาจเกิดผลเสียได้
3.5.3 ฝึกมีวินัยในการทำงาน ไม่พลัดวันประกันพรุ่ง เพื่อการมีเวลาที่ดีกว่า
3.5.4 การพบปะ/สังสรรค์/ ร่วมกิจกรรมสังคม จะต้องเป็นเรื่องที่สร้างสรรค์ ไม่เสียเวลากับเรื่องไร้สาระ นำไปสู่ปัญหาไม่มีที่สิ้นสุด สิ้นเปลืองเวลาโดยใช่เหตุ
3.5.5 คนที่รู้จัดใช้เวลา เป็นเท่านั้นจึงจะมีเสรีภาพให้กับ ชีวิตที่แท้จริง
4. การจัดแบ่งเวลาและงาน
4.1 การจัดแบ่งเวลาและงานโดยใช้ตารางเมื่อสามารถจัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของงานได้แล้ว ก็พิจารณาใช้ตารางแบ่งเวลาและงานเข้าช่วยโดยการเขียนงานใส่ช่องที่เหมาะสมกับการใช้เวลาตามตารางแสดงข้างล่าง
จากตารางนี้จะทำให้ผู้บริหารรู้ได้ว่าเวลานั้นจะต้องทำงานอะไร หรือให้ใครไปทำอะไร ข้อสำคัญ ต้องไม่ลืมว่า ผู้บริหารที่ดีคือผู้ที่ทำให้งานเสร็จ ไม่ใช่ทำงานให้เสร็จ
4.2 ประโยชน์ของการบริหารเวลา
เมื่อเวลาเป็นสิ่งที่มีค่า มีความสำคัญ มีจำกัด ไม่อาจจะหาสิ่งอื่นมาทดแทนได้ ในฐานะผู้บริหาร หากเวลาได้ประโยชน์คุ้มค่า เหมาะสมย่อมเกิดประโยชนทั้งส่วนรวมและส่วนตัว เพราะสามารถทำงานที่สำคัญได้เสร็จตามกำหนด ไม่ทำงานซ้ำซ้อน รู้จักสร้างตนสร้างความรับผิดชอบ สร้างทีมงานทั้งการมีส่วนร่วมเลือกทำงานให้คุ้มค่ากับเวลาและที่สำคัญมีความสุขกับการทำงาน
4.3 ข้อเสนอแนะในการบริหารเวลา
เรียงลำดับความสำคัญของงานว่างานใดควรทำให้เสร็จก่อน และควรหยุดรับทำกิจกรรมหลายอย่างเมื่อมีเวลาจำกัด และควรกำหนดตารางเวลาล่วงหน้า เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และพยายามทำให้ได้ตามกำหนด โดยเผื่อความยึดหยุ่นไว้บ้าง ตารางเวลาล่วงหน้าที่ควรจัดทำ เช่น ตารางต่อวัน, ตารางต่อสัปดาห์, ตารางต่อเดือน , ตารางต่อภาคเรียนและตารางต่อปี




4.4 สุภาษิตที่เกี่ยวกับเวลา
One day is worth two tomorrows.
วันนี้มีค่าเท่ากับวันพรุ่งนี้ถึงสองวัน
Time is the devourer of things.
เวลาคือตัวกลืนสรรพสิ่ง
Time and tide wait for no man.
เวลาและวารีไม่มีจะคอยใคร
Prepare today for the needs of tomorrow.
เตรียมพร้อมในวันนี้เพื่อภาระในวันพรุ่งนี้
Time is money.
เวลาเป็นเงินเป็นทอง
Lost time is never found again.
เวลาที่เสยไปจะเรียกคืนมาไม่ได้
Better late than never
มาสายยังดีกว่าไม่มาเสียเลย
The darkest hour is before the dawn.
เวลาที่มืดมนย่อมมาก่อนรุ่งสว่างที่สดใส

สรุป
การบริหารเวลาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการมีชีวิตอยู่ในสังคม ที่มีความสลับซับซ้อน กิจกรรมทางสังคมมีความเคลื่อนไหว (Dynamic) จนแทบตามไม่ทันสภาพเศรษฐกิจเปลี่ยนไปไม่มีวันสิ้นสุด ผู้ที่มองเห็นคุณค่าของเวลา และสามารถบริหารเวลาที่มีอยู่ให้บังเกิดผลประโยชน์ย่อมเป็นผู้ได้เปรียบ และจะสามารถขจัดปัญหาอันเป็นผลมาจากความเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่าง ๆ รอบข้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นย่อมหมายความว่าบุคคลนั้นได้ควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในมือได้แล้ว ทั้งนี้ด้วยสาเหตุเพียงประการเดียว คือ เขาบริหารเวลาเป็น










วิธีการทางประวัติศาสตร์




ความหมายของวิธีการทางประวัติศาสตร์







ในการสืบค้น ค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีอยู่หลายวิธี เช่น จากหลักฐานทางวัตถุที่ขุดค้นพบ หลักฐานที่เป็นการบันทึกลายลักษณ์อักษร หลักฐานจากคำบอกเล่า ซึ่งการรวบรวมเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์
วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ การรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจากหลักฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในอดีตนั้นได้เกิดและคลี่คลายอย่างไร ซึ่งเป็นความมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์







ความสำคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์

สำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์นั้น มีปัญหาที่สำคัญอยู่ประการหนึ่ง คือ อดีตที่มีการฟื้นหรือจำลองขึ้นมาใหม่นั้น มีความถูกต้องสมบูรณ์และเชื่อถือได้เพียงใดรวมทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษรที่นำมาใช้เป็นข้อมูลนั้น มีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เพราะเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มีอยู่มากมายเกินกว่าที่จะศึกษาหรือจดจำได้หมด แต่หลักฐานที่ใช้เป็นข้อมูลอาจมีเพียงบางส่วน
ดังนั้น วิธีการทางประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ หรือผู้ฝึกฝนทางประวัติศาสตร์จะได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ลำเอียง และเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ







ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์








ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้นอย่างไร







ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ)
การรวบรวมข้อมูลนั้น หลักฐานชั้นต้นมีความสำคัญ และความน่าเชื่อถือมากกว่าหลักฐานชั้นรอง แต่หลักฐานชั้นรองอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายกว่าหลักฐานชั้นรอง
ในการรวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆดังกล่าวข้างต้น ควรเริ่มต้นจากหลักฐานชั้นรองแล้วจึงศึกษาหลักฐานชั้นต้น ถ้าเป็นหลักฐานประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ควรเริ่มต้นจากผลการศึกษาของนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ก่อนไปศึกษาจากของจริงหรือสถานที่จริง

การศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีควรใช้ข้อมูลหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าผู้ศึกษาต้องการศึกษาเรื่องอะไร ดังนั้นการรวบรวมข้อมูลที่ดีจะต้องจดบันทึกรายละเอียดต่างๆ ทั้งข้อมูลและแหล่งข้อมูลให้สมบูรณ์และถูกต้อง เพื่อการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ





ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก





การวิพากษ์หลักฐาน (external criticism) คือ การพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด แต่เป็นเพียงการประเมินตัวหลักฐาน มิได้มุ่งที่ข้อมูลในหลักฐาน ดังนั้นขั้นตอนนี้เป็นการสกัดหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือออกไปการวิพากษ์ข้อมูลหรือวิพากษ์ภายใน
การวิพากษ์ข้อมูล (internal criticism) คือ การพิจารณาเนื้อหาหรือความหมายที่แสดงออกในหลักฐาน เพื่อประเมินว่าน่าเชื่อถือเพียงใด โดยเน้นถึงความถูกต้อง คุณค่า ตลอดจนความหมายที่แท้จริง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อการประเมินหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะข้อมูลในเอกสารมีทั้งที่คลาดเคลื่อน และมีอคติของผู้บันทึกแฝงอยู่ หากนักประวัติศาสตร์ละเลยการวิพากษ์ข้อมูลผลที่ออกมาอาจจะผิดพลาดจากความเป็นจริง




ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน





ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน
การตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐกรรมต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่ง
อาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม

ในการตีความหลักฐาน นักประวัติศาสตร์จึงต้องพยายามจับความหมายจากสำนวนโวหาร ทัศนคติ ความเชื่อ ฯลฯ ของผู้เขียนและสังคมในยุคสมัยนั้นประกอบด้วย เพื่อทีจะได้ทราบว่าถ้อยความนั้นนอกจากจะหมายความตามตัวอักษรแล้ว ยังมีความหมายที่แท้จริงอะไรแฝงอยู่





ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล จัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้น
ในขั้นตอนนี้ ผู้ศึกษาจะต้องนำข้อมูลที่ผ่านการตีความมาวิเคราะห์ หรือแยกแยะเพื่อจัดแยกประเภทของเรื่อง โดยเรื่องเดียวกันควรจัดไว้ด้วยกัน รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน เรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงนำเรื่องทั้งหมดมาสังเคราะห์หรือรวมเข้าด้วยกัน คือ เป็นการจำลองภาพบุคคลหรือเหตุการณ์ในอดีตขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง โดยอธิบายถึงสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และผล ทั้งนี้ผู้ศึกษาอาจนำเสนอเป็นเหตุการณ์พื้นฐาน หรือเป็นเหตุการณ์เชิงวิเคราะห์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา










การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ.๒๓๒๕-๒๔๓๕)







สภาพทางการเมืองในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงรูปแบบของระบบประชาธิปไตยอันเป็นระบบการปกครองที่สืบทอดมาช้านาน การเปลี่ยนแปลงภายในตัวระบบอยู่ที่การปรับบทบาทของสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันสูงสุดที่ทำหน้าที่ปกครองประเทศ รูปแบบของสถาบ้นกษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คลายความเป็นเทวราชาลงเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็กลับเน้นคติและรูปแบบของธรรมราชาขึ้นแทนที่ อย่างไรก็ตาม อำนาจอันล้นพ้นของพระมหากษัตริย์ก็มีอยู่แต่ในทางทฤษฎี เพราะในทางปฏิบัติ พระราชอำนาจของพระองค์กลับถูกจำกัดลงด้วยคติธรรมในการปกครอง ซึ่งอิงหลักธรรมของพุทธศาสนา คือ ทศพิธราชธรรม กับอีกประการหนึ่ง คือ การถูกแบ่งพระราชอำนาจตามการจัดระเบียบควบคุมในระบบไพร่ ซึ่งถือกันว่า พระมหากษัตริย์คือมูลนายสูงสุดที่อยู่เหนือมูลนายทั้งปวง แต่ในทางปฏิบัติพระองค์ก็มิอาจจะควบคุมดูแลไพร่พลเป็นจำนวนมากได้ทั่วถึง จึงต้องแบ่งพระราชอำนาจในการบังคับบัญชากำลังคนให้กับมูลนายในระดับรองๆ ลงมา ในลักษณะเช่นนั้น มูลนายที่ได้รับมอบหมายให้กำกับไพร่และบริหารราชการแผ่นดินต่างพระเนตรพระ กรรณ จึงเป็นกลุ่มอำนาจมีอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกลุ่มใดจะมีอำนาจเหนือกลุ่มใดก็แล้วแต่สภาพแวดล้อมของสังคมในขณะนั้น เป็นสำคัญ




การปกครองและการบริหารประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กล่าวได้ว่า รูปแบบของการปกครอง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยังคงยึดตามแบบฉบับที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงวางระเบียบไว้ จะมีการเปลี่ยนแปลงก็เพียงเล็กน้อย เช่น ในสมัยรัชกาลที่ ๑ โปรดฯ ให้คืนเขตการปกครองในหัวเมืองภาคใต้กลับให้สมุหกลาโหมตามเดิม ส่วนสมุหนายกให้ปกครองหัวเมืองทางเหนือ ส่วนพระคลังดูแลหัวเมืองชายทะเล ในด้านระบบการบริหาร ก็ยังคงมีอัครมหาเสนาบดี ๒ ฝ่าย คือ สมุหนายกเป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ และสมุหกลาโหม เป็นหัวหน้าราชการฝ่ายทหาร ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ตำแหน่งรองลงมาคือ เสนาบดีจตุสดมภ์ แบ่งตามชื่อกรมที่มีอยู่คือ เวียง วัง คลังและ นา ในบรรดาเสนาทั้ง ๔ กรมนี้ เสนาบดีกรมคลังจะมีบทบาทและภาระหน้าที่มากที่สุดคือนอกจากจะบริหารการคลังของประเทศแล้ว ยังมีหน้าที่ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลตะวันออก เสนาบดีทั้งหลายมีอำนาจสั่งการภายในเขตความรับผิดชอบของตน รูปแบบที่ถือปฏิบัติก็คือ ส่งคำสั่งและรับรายงานจากเมืองในสังกัดของตน ถ้ามีเรื่องร้ายที่เกิดขึ้น เสนาบดีเจ้าสังกัดจะเป็นแม่ทัพออกไปจัดการเรื่องต่างๆ ให้เรียบร้อย มีศาลของตัวเองและสิทธิในการเก็บภาษีอากรในดินแดนสังกัดของตน รวมทั้งดูแลการลักเลขทะเบียนกำลังคนในสังกัดด้วย




การบริหารในระดับต่ำลงม อาศัยรูปแบบการปกครองคนในระบบไพร่ คือ แบ่งฝ่ายงานออกเป็นกรมกองต่างๆ แต่ละกรมกอง มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการควบคุมกำลังคนในสังกัดของตน โครงสร้างของแต่ละกรม ประกอบด้วยขุนนางข้าราชการอย่างน้อย ๓ ตำแหน่ง คือ เจ้ากรม ปลัดกรม และสมุห์บัญชี กรมมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก กรมใหญ่มักเป็นกรมสำคัญ เจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์ถึงขนาดเจ้าพระยาหรือพระยา




กรมของเจ้านายที่มีความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ กรมของพระมหาอุปราช ซึ่งเรียกกันว่า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมของพระองค์มีไพร่พลขึ้นสังกัดมาก กรมของเจ้านายมิได้ทำหน้าที่บริหารราชการโดยตรง ถือเป็นกรมที่ควบคุมกำลังคนเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้น การแต่งตั้งเจ้านายขึ้นทรงกรมจึงเป็นการให้ทั้งความสำคัญ เกียรติยศ และความมั่นคงเพราะไพร่พลในครอบครองเป็นเครื่องหมายแสดงถึงอำนาจและความ มั่งคั่งของมูลนายผู้เป็นเจ้าของการบริหารราชการส่วนกลาง มีพระมหากษัตริย์เป็นมูลนายระดับสูงสุด เจ้านายกับขุนนางข้าราชการผู้บังคับบัญชากรมต่างๆ ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ฐานะเป็นมูลนายในระดับสูง ช่วยบริหารราชการ โดยมีนายหมวด นายกอง เป็นมูลนายระดับล่างอยู่ใต้บังคับบัญชา และทำหน้าที่ควบคุมไพร่อีกต่อหนึ่ง การสั่งราชการจะผ่านลำดับชั้นของมูลนายลงมาจนถึงไพร่




สำหรับการปกครองในส่วนภูมิภาคหรือการปกครองหัวเมือง ขึ้นอยู่กับอัครมหาเสนาบดี ๒ ท่าน และเสนาบดีคลัง ดังได้กล่าวไว้ข้างต้น หัวเมืองแบ่งออกเป็นสองชั้นใหญ่ๆ ได้แก่ หัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นนอก การแบ่งหัวเมืองยังมีอีกวิธีหนึ่ง โดยแบ่งออกเป็น ๔ ขั้น คือ เอก โท ตรี จัตวา ตามความสำคัญทางยุทธศาสตร์และราษฎร




หัวเมืองชั้นใน เป็นหน่วยปกครองที่อยู่ใกล้เมืองหลวง มีเจ้าเมืองหรือผู้รั้ง ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าปกครองดูแล




หัวเมืองชั้นนอก มีทั้งหัวเมืองใหญ่ หัวเมืองรอง และหัวเมืองชายแดน หัวเมืองเหล่านี้ อยู่ใต้การปกครองของเจ้าเมือง และข้าราชการในเมืองนั้นๆ




นโยบายที่ใช้ในการปกครองหัวเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความกระชับยิ่งขึ้น กล่าวคือ รัชกาลที่ ๑ ได้ทรงออกพระราชกำหนดตัดทอนอำนาจเจ้าเมืองในการแต่งตั้งข้าราชการที่สำคัญๆ ทุกตำแหน่ง โดยโอนอำนาจการแต่งตั้งจากกรมเมืองในเมืองหลวง นับเป็นการขยายอำนาจของส่วนกลาง โดยอาศัยการสร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นกับเจ้านายทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งเจ้าเมือง และข้าราชการที่แต่งตั้งตนในส่วนกลาง ตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้ต้องรายงานตัวต่อผู้ตั้งทุกปี ทั้งนี้เพื่อผลในการควบคุมไพร่พลและเกณฑ์ไพร่มาใช้ เพราะฉะนั้น มูลนายในเมืองหลวงจึงได้ควบคุมสัสดีต่างจังหวัดอย่างใกล้ชิด




ส่วนการปกครองในประเทศราช เช่น ลาว เขมร มลายู นั้น ไทยใช้วิธีปกครองโดยทางอ้อม ส่วนใหญ่จะปลูกฝังความนิยมไทยลงในความรู้สึกของเจ้านายเมืองขึ้น โดยการนำเจ้านายจากประเทศราชมาอบรมเลี้ยงดูในฐานะพระราชบุตรบุญธรรมของพระ มหากษัตริย์ในราชสำนักไทยหรือสนับสนุนให้มีการแต่งงานกันระหว่างเจ้านายทั้ง สองฝ่าย และภายหลังก็ส่งเจ้านายพระองค์นั้นไปปกครองเมืองประเทศราช ด้วยวิธีนี้ จึงทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันกันขึ้นระหว่างกษัตริย์ไทยกับเจ้านายเมืองขึ้น การปกครอง หรือการขยายอำนาจอิทธิพลในอาณาจักรต่างๆ เหล่านี้ ฝ่ายไทยและประเทศราชไม่มีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ขึ้นกับอำนาจความมั่นคงของราชอาณาจักรไทย เพราะฉะนั้น ในช่วงใดที่ประเทศอ่อนแอ เมืองขึ้นก็อาจแข็งเมืองหรือหันไปหาแหล่งอำนาจใหม่ เพราะฉะนั้น เมื่ออำนาจตะวันออกแผ่อิทธิพลเข้ามาในดินแดนเอเซียอาคเนย์ ปัญหาเรื่องอิทธิพลในเขตแดนต่างๆ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเวลาทำความตกลงกัน




ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอย่างขนานใหญ่ ควบคู่ไปกับการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป การปฏิรูปเศรษฐกิจ ก็ได้แก่ การปรับปรุงระบบบริหารงานคลังและภาษีอากร ส่วนการปฏิรูปสังคมก็ได้แก่ การเลิกทาส การปฏิรูปการศึกษา รวมทั้งการปรับปรุงการสื่อสาร และการคมนาคม เป็นต้น




สำหรับมูลเหตุสำคัญที่ผลักดันให้มีการปฏิรูปการปกครอ มีอยู่ ๒ ประการ คือ




๑.มูลเหตุภายใน ทรง พิจารณาเห็นว่าการปกครองแบบเดิมไม่เหมาะสมกับสภาพทางการปกครองและทางสังคม ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ประเทศไทยมีประชากรเพิ่มขึ้น การคมนมคมและการติดต่อสื่อสารเริ่มมีความทันสมัยมากขึ้น การปกครองแบบเดิมจะมีผลทำให้ประเทศชาติขาดเอกภาพในการปกครอง ขาดประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและพัฒนาได้ยาก




๒.มูลเหตุภายนอก ทรง พิจารณาเห็นว่า หากไม่ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินย่อมจะเป็นอันตรายต่อเอกราชของชาติ เพราะขณะนั้น จักวรรดินิยมตะวันตก ได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคมในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนั้น แต่เดิมเราต้องยินยอมให้ประเทศตะวันตกหลายประเทศมีสิทธิภาพนอกอาณาเขตคือ สามารถตั้งศาลกงสุลขึ้นมาพิจารณาความคนในบังคับของตนได้ โดยไม่ต้องอยู่ใต้การบังคับของศาลไทย เพราะอ้างว่า ศาลไทยล้าสมัย







พัฒนาการชาติไทยสมัยรัชกาลที่ 4,5,6,7ด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม








1. ในสมัยรัชการที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนแปลงนโยบาย ต่างประเทศ มาเป็นการคบค้ากับชาวตะวันตก เพื่อความอยู่รอดของชาติ เนื่องจากทรงตระหนักถึงภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยม ซึ่งกำลังคุกคามประเทศต่าง ๆ อยู่ในขณะนั้น

2. จุดเริ่ิมของการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ คือ การทำสนธิสัญญาเบาริง กับอังกฤษ ใน พ.ศ. 2398 โดยพระนางเจ้าวิกตอเรีย ได้แต่งตั้งให้ เซอร์ จอห์น เบาริง เป็นราชทูตเข้ามาเจรจา

3. สาระสำคัญของสนธิสัญเบาริง มีดังนี้
o อังกฤษขอตั้งสถานกงสุลในประเทศไทย
o คนอังกฤษมีสิทธิเช่าที่ดินในประเทศไทยได้
o คนอังกฤษสามารถสร้างวัด และเผยแพร่คริสต์ศาสนาได้
o เก็บภาษีขาเข้าได้ไม่เกินร้อยละ 3
o พ่อค้าอังกฤษและพ่อค้าไทยมีสิทธิค้าขายกันได้โดยเสรี
o สินค้าต้องห้าม ได้แก่่ ข้าว ปลา เกลือ
o ถ้าไทยทำสนธิสัญญากับประเทศอื่น ๆ ที่มีผลประโยชน์เหนือประเทศ อังกฤษ จะต้องทำให้อังกฤษด้วย
o สนธิสัญญานี้ จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ จนกว่าจะใช้แล้ว 10 ปี และในการแก้ไข ต้องยินยอมด้วยกันทั้งสองฝ่าย และ ต้องบอกล่วงหน้า 1 ปี

4. ผลของสนธิสัญญาเบาริง
o ผลดี
1. รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ
2. การค้าขยายตัวมากขึ้น เปลี่ยนแปลงการค้าเป็นแบบเสรี
3. อารยธรรมตะวันตก เข้ามาแพร่หลาย สามารถนำมาปรับปรุงบ้านเมือง ให้เจริญก้าวหน้ามาขึ้น
o ผลเสีย
1. ไทยเสียสิทธิทางการศาลให้อังกฤษ และคนในบังคับอังกฤษ
2. อังกฤษ เป็นชาติที่ได้รับสิทธิพิเศษหลายอย่าง
3. อังกฤษ เป็นฝ่ายได้เปรียบ จึงไม่ยอมทำการแก้ไข

ผลจากการทำสนธิสัญญาเบาริง ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทำให้สภาพสังคมไทย เปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อนำประเทศให้เจริญก้าวหน้า ตามแบบอารยธรรมตะวันตก การเปลี่ยนแปลง ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้

1.ด้านการปกครอง
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเพณีบางอย่าง เพื่อให้ราษฎร มีโอกาสใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ คือ เปิดโอกาสให้ราษฎร เข้าเฝ้าได้โดยสะดวก ให้ราษฎรเข้าเฝ้าถวายฎีการ้องทุกข์ได้ ในขณะที่ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการปกครอง ครั้งสำคัญ โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ การปรับปรุงในระยะแรก ให้ตั้งสภา 2 สภา คือ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) และ สภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy Council) กับการปรับปรุงการปกครอง ในระยะหลัง (พ.ศ. 2435) ซึ่งนับว่า เป็นการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ โดยมีลักษณะ คือ การปกครองส่วนกลาง โปรดให้ยกเลิกการปกครอง แบบจตุสดมภ์ และ จัดแบ่งหน่วยราชการเป็นกรมต่าง ๆ 12 กรม (กะรทรวง) มีเสนาบดีเป็นเจ้ากระทรวง การปกครองส่วนภูมิภาค ทรงยกเลิก การจัดหัวเมืองที่แบ่งเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี และจัตวา เปลี่ยนการปกครองเป็น เทศาภิบาล ทรงโปรดให้รวมเมืองหลายเมืองเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นผู้ปกครอง ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย กับทรงแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัด (เมือง) อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน และการปกครองส่วนท้องถิ่น เริ่มจัดการทดลองแบบ สุขาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรก

2. ด้านเศรษฐกิจ
ภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาริงแล้ว การค้าของไทยเจริญก้าวหน้าขึ้น มาก ทำให้มีการปรับปรุงด้านเศรษฐกิจ เช่น ในรัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนการใช้เงินพดด้วงมาเป็นเงินเหรียญ และขุดคลอง ตัดถนนเพิ่มขึ้นหลายสาย ในสมัยรัชกาลที่ 5 เปลี่ยนมาตราเงินไทยมาใช้ระบบทศนิยม ใช้ทองคำเป็นมาตรฐานเงินตราแทนเงิน ให้ใช้เหรียญบาท สลึง และเหรียญสตางค์แทนเงินแบบเดิม มีการจัดตั้งธนาคารของเอกชนขึ้นเป็นครั้งแรก คือ แบางก์สยามกัมมาจล (ปัจจุบัน คือ ธนาคารไทยพาณิชย์) ในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดให้ตั้งคลังออมสินขึ้น (ปัจจุบันคือ ธนาคารออมสิน)

3.ด้านวัฒนธรรม
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า ทรงให้เสรีภาพประชาชน ในการนับถือศาสนาและประกอบอาชีพ โปรดให้สตรีได้ยกฐานให้สูงขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการสวมเสื้อราชปะแตก และสวมหมวกอย่างยุโรป ให้ข้าราชการทหารแต่งเครื่องแบบ ตามแบบตะวันตก โปรดให้ผู้ชายในราชสำนัก ไว้ผมทรงมหาดไทย เปลี่ยนมาไว้ผมตัดยาวทั้งศีรษะแบบฝรั่ง โปรดให้ผู้หญิงเลิกไว้ผมปีก ให้ไว้ผมตัดยาว ที่เรียกว่า "ทรงดอกกระุุทุ่ม" ทรงแก้ไขประเพณีการสืบสันตติวงศ์ โดยยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แล้วโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ขึ้น ทรงเลิกประเพณีหมอบคลานเข้าเฝ้า และให้ยืนเข้าเฝ้าแทน ยกเลิกการโกนผม เมื่อพระมหากษัตริย์สวรรคต ยกเลิกการไต่สวนคดีแบบจารีตนครบาล และที่สำคัญที่สุด ที่พระองค์ทรงได้พระราชสมัญญานาม ว่า "พระปิยมหาราช" ซึ่งแปลว่า มหาราชที่ทรงเป็นที่รักของประชาชน คือการยกเลิกระบบไพร่ และระบบทาส ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงประกาศใช้พระราชบัญญัตินามกสุล โปรดให้ใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชทางราชการ แทนรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เปลี่ยนแปลงการนับเวลาทางราชการ ให้สอดคล้องกับสากลนิยม โปรดให้กำหนดคำนำหน้าชื่อเด็กหญิง เด็กชาย นางสาว และนาง เปลียนแปลงธงประจำชาติ จากธงรูปช้างเผือก มาเป็นธงไตรรงค์ ตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ ตามแบบประเทศยุโรป


4.สภาพสังคม
การเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงดำริว่า การที่ประเทศไทยมีชนชั้นทาสมากเท่ากับเป็นการเสียเศรษฐกิจของชาติ และทำให้ต่างชาติดูถูกและเห็นว่าประเทศไทยป่าเถื่อนด้อยความเจริญ ซึ่งมีผลทำให้ประเทศมหาอำนาจต่างๆ คิดจะเข้าครอบครองไทย โดยอ้างว่า เพื่อช่วยพัฒนาประเทศไทยให้ทัดเทียมประเทศอื่นๆ ที่เจริญแล้วทั้งหลาย
ดังนั้น ใน พ.ศ.2417 พระองค์จึงทรงเริ่มออกพระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทขึ้น โดยกำหนดค่าตัวทาสอายุ 7-8 ปี มีค่าตัวสูงสุด 12-14 ตำลึง แล้วลดลงเรื่อยๆ เมื่อมีอายุ 21 ปี ค่าตัวจะเหลือเพียง 3 บาท ซึ่งทำให้ทาสมีโอกาสไถ่ตัวเป็นไทได้มากและใน พ.ศ.2420 พระองค์ทรงบริจาคเงินจำนวนหนึ่งเพื่อไถ่ตัวทาสที่อยู่กับเจ้านายมาครบ 25 ปี จำนวน 45 คน พ.ศ.2443 ทรงออกกฎหมายให้ทาสสินไถ่อายุครบ 60 ปี พ้นจากการเป็นทาสและห้ามขายตัวเป็นทาสอีก พ.ศ.2448 ออกพระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124 บังคับทั่วประเทศ ห้ามมีการซื้อทาสต่อไป ให้ลดค่าตัวลงเดือนละ 4 บาท จนครบจำนวนเงิน และให้บรรดาทาสเป็นไททั้งหมด
การเลิกทาสของพระองค์ประสบความสำเร็จอย่างดี เป็นเพราะพระปรีชาญาณและพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ทรงใช้ทางสายกลาง ค่อยๆดำเนินงานไปทีละขั้นตอน ทำให้ไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรงดังเช่นประเทศต่างๆ ที่เคยประสบมา










การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ถึงปัจจุบัน




สังคมไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
หลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ พ.ศ. 2475 ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ขึ้นครองราชย์นั้น สังคมไทยได้ก้าวสู่ความเป็นอารยะตามแบบตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเจริญที่ปรากฏอยู่ในรูปของวัตถุไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง รถไฟ ไฟฟ้า ประปา เขื่อนชลประทาน โรงพยาบาล ระบบการสื่อสารคมนาคม ที่ทำการรัฐบาล ห้างร้าน และตึกรามบ้านช่อง ตลอดจนเครื่องใช้อันทันสมัย อันมีเจ้านายและชนชั้นสูงเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ส่วนชาวบ้านสามัญชนเป็นผู้ตาม นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนแปลงในขนบธรรมเนียมบางอย่างเพื่อให้สอดคล้องกับการปกครองระบบใหม่ ทั้งนี้เพราะรัฐบาลต้องติดต่อกับชาติอื่น ๆ ทั่วโลก จึงต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทยให้เป็นสากลและสอดคล้องกับความเป็นไปของโลก แต่ให้คงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยไว้ที่เด่นชัดในสมัยนั้นก็คือเรื่องการแต่งกายในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ( พ.ศ. 2481-2487 ) ได้มีบัญญัติเรียกว่ารัฐนิยม ซึ่งเป็นการปลุกระดมอย่างรุนแรง ซึ่งแสดงนโยบายของประเทศว่าต้องการให้ประชาชนคนไทยรักหวงแหนและภูมิใจในความเป็นไทย เช่น ให้ข้าราชการแต่งเครื่องแบบตามที่กำหนด ห้ามสวมกางเกงแพร ให้ทักทายกันด้วยคำว่าสวัสดี ห้ามกินหมาก ให้สวมหมวกทุกครั้งที่ออกจากบ้าน ใช้คำขวัญปลุกใจทุกเช้าก่อนเรียน การยกเลิกบรรดาศักดิ์โดยให้ใช้เพียงชื่อ สกุล เหมือนคนทั่วไป การเคารพธงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงมหรสพ ฯลฯ
สภาพสังคมหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญ คือ
ประชาชนขึ้นมาเป็นเจ้าของประเทศและมีบทบาทในการปกครองประเทศด้วยกระบวนการกฎหมา ชนชั้นกลาง พวกพ่อค้า ปัญญาชน ขึ้นมามีบทบาทในสังคมแต่ผู้กุมอำนาจยังคงได้แก่ทหารและข้าราชการ นายทุนเติบโตจากการค้าและอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วพร้อมทั้งมีอิทธิพลและบทบาทจนได้เปรียบในสังคม เกิดช่องว่างในสังคมทำให้ชาวไร่ ชาวนา และกรรมกรมีฐานะและชีวิตอยู่กับความยากจนและถูกเอารัดเอาเปรียบจากสังคม










บทบาทพระมหากษัตริย์ไทย สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อการพัฒนาชาติไทย







ด้านการเมือง
สถาบัน พระมหากษัตริย์ได้มีบทบาทเกี่ยวกับการเมืองการปกครองการรวมชาติ การสร้างเอกราช การวางรากฐานการเมืองการปกครอง การสร้างเสถียรภาพทางการเมืองการปกครอง การปฏิรูปการปกครองแผ่นดินตั้งแต่อดีตสืบต่อมาตลอดปัจจุบันบทบาทของพระมหา กษัตริย์มีส่วนช่วยสร้างเอกภาพของประเทศเป็นอย่างมาก คนไทยทุกกลุ่มไม่ว่าศาสนาใดมีขนบธรรมเนียมแตกต่างกันอย่างไรก็มีความรู้สึก ร่วมในการมีพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน การเสด็จออกเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆ แม้ท้องถิ่นทุรกันดาร หรือมากด้วยภยันตรายอยู่ตลอดเวลา ทำให้ราษฎรมีขวัญและกำลังใจดี มีความรู้สึกผูกพันกับชาติว่ามิได้ถูกทอดทิ้ง พระราชกรณียกิจดังกล่าวของพระองค์มีส่วนช่วยในการปกครองเป็นอย่างมาก

พระ ราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์นั้นมีมาก และล้วนก่อประโยชน์ให้เกิดขึ้นต่อส่วนรวมทั้งสิ้น แม้การปฏิบัติพระราชกรณียกิจจะเป็นพระราชภาระอันหนัก แต่ก็ได้ทรงกระทำอย่างครบถ้วนสม่ำเสมอ จนกระทั่งสามารถที่จะผูกจิตใจของประชาชนให้เกิดความจงรักภักดี เพาะตระหนักถึงน้ำพระทัยของพระองค์ว่า ทรงเห็นแก่ประโยชน์สุขของส่วนรวมมากกว่าพระองค์เอง ทรงเสียสละยอมทุกข์ยากเพื่อบ้านเมืองอย่างแท้จริงดังพระราชปณิธานของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ที่ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม


ด้านเศรษฐกิจ
การ พัฒนาและการปฏิรูปที่สำคัญๆ ของชาติส่วนใหญ่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปูพื้นฐานประชาธิปไตย โดยการจัดตั้งกระทรวงต่างๆ ทรงส่งเสริมการศึกษาและเลิกทาส ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ทรงเกื้อหนุนวิทยาการสาขาต่างๆ ทรงสนับสนุนการศึกษาและศิลปวัฒนาธรรม ทรงริเริ่มกิจการอันเป็นการแก้ปัญหาหลักทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยจะเห็นว่าโครงการตามพระราชดำริส่วนใหญ่มุ่งแก้ปัญหาหลักทางเกษตรกรรม เพื่อชาวนา ชาวไร่ และประชาชนผู้ยากไร้และด้อยโอกาสอันเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น โครงการฝนหลวง ชลประทาน พัฒนาที่ดิน พัฒนาชาวเขา เป็นต้น


ด้านสังคมและวัฒนธรรม




พระ มหากษัตริย์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขและความ เจริญแก่สังคม ได้ทรงริเริ่มโครงการต่างๆ ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พระราชดำริและโครงการที่ทรงริเริ่มมีมากซึ่งล้วนแต่เป็นรากฐานในการพัฒนา ชาติทั้งสิ้น โครงการของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันที่สำคัญ ได้แก่ โครงการอีสานเขียว โครงการฝนหลวง โครงการปลูกป่า โครงการขุดคลองระบายน้ำ โครงการปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดในเมืองใหญ่ โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ ทรงทำเป็นแบบอย่างที่ดีประชาชนและหน่วยราชการนำไปปฏิบัติก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางการพัฒนาชาติขึ้นมาก นอกจากนี้ทรงทำให้เกิดความคิดในการดำรงชีวิตแบบใหม่ เช่น การประกอบอาชีพ การใช้วิทยาการมาช่วยทำให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น


ด้านการต่างประเทศ
พระ มหากษัตริย์ในอดีตได้ทรงดำเนินวิเทโศบายได้อย่างดีจนสามารถรักษาเอกราชไว้ ได้ โดยเฉพาะสมัยการล่าเมืองขึ้นในรัชกาลที่ 4 และ รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันก็ทรงดำเนินการให้เกิดความ เข้าใจอันดี ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศต่างๆ กับประเทศไทย โดยเสด็จพระราชดำเนินเป็นทูตสันถวไมตรีกับประเทศต่างๆ ไม่น้อยกว่า 31 ประเทศ ทำให้นโยบายต่างประเทศดำเนินไปอย่างสะดวกและราบรื่น นอกจากนั้นยังทรงเป็นผู้แทนประเทศไทยต้อนรับประมุขประเทศ ผู้นำประเทศ เอกอัครราชทูต และทูตสันถวไมตรีจากต่างประเทศอีกด้วย