วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วันเข้าพรรษา


วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม[1] การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา
วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือได้ว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทย โดยมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วงฤดูฝน โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย
สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย
ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง 3 เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญ
ใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนเมื่ออายุครบบวช (20 ปี) จะนิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาลทั้ง 3 เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า "บวชเอาพรรษา"

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในอดีตตั้งแต่ พ.ศ. 1893-2310 มีเมืองหลวงที่ กรุงศรีอยุธยา เป็นอาณาจักรซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองจนอาจถือได้ว่าเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมั่งคั่งที่สุดในภูมิภาคสุวรรณภูมิอีกทั้งยังเป็นอาณาจักรที่มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน ดัตช์ และฝรั่งเศส เคยมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล โดยมีประเทศราชแผ่ขยายไปจนถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนานและมณฑลชานสี อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมมลายูในปัจจุบันเนื้อหา
1 กรุงศรีอยุธยา
2 ประวัติ
2.1 จุดเริ่มต้น
2.2 การขยายดินแดน
2.3 การล่มสลายของอาณาจักร
3 พระราชวงศ์
4 พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
5 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
5.1 วีรสตรีแห่งกรุงศรีอยุธยา
5.2 อ้างอิง
5.3 แหล่งข้อมูลอื่น
กรุงศรีอยุธยา
กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บนบริเวณซึ่งมีแม่น้ำล้อมรอบถึง 3 สาย อันได้แก่
แม่น้ำลพบุรีทางทิศเหนือ, แม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตกและทิศใต้ และแม่น้ำป่าสักทางทิศตะวันออก เดิมทีบริเวณนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นเกาะ แต่พระเจ้าอู่ทองทรงดำริให้ขุดคูเชื่อมแม่น้ำทั้ง 3 สาย เพื่อให้เป็นปราการธรรมชาติป้องกันข้าศึก ที่ตั้งกรุงศรีอยุธยายังอยู่ห่างจากอ่าวไทยไม่มากนัก ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้ากับชาวต่างประเทศด้วย
ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของ
อำเภอพระนครศรีอยุธยา ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประวัติ
ชาวไทยเริ่มตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลาง และตอนล่างของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 แล้ว ทั้งยังเคยเป็นที่ตั้งของเมืองสังขบุรี อโยธยา เสนาราชนคร และกัมโพชนคร
ต่อมา ราวปลาย
พุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรขอมและสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง พระเจ้าอู่ทองทรงดำริจะย้ายเมืองและพิจารณาชัยภูมิเพื่อตั้งอาณาจักรใหม่ และตัดสินพระทัยสร้างราชธานีแห่งใหม่บริเวณตำบลหนองโสน (บึงพระราม) และสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จุลศักราช 12ตรงกับวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893 (พ.ศ.นี้เทียบจาก จ.ศ. แต่จะตรงกับ ค.ศ.1351) ชื่อว่า กรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดี ศรีอยุธยา มหาดิลก ภพนพรัตน์ราชธานี บุรีรมย์อุดมมหาสถานประวัติศาสตร์บางแห่งระบุว่าเกิดโรคระบาดขึ้น พระเจ้การขยายดินแดน
กรุงศรีอยุธยาดำเนินนโยบายขยายอาณาจักรด้วย 2 วิธีคือ ใช้กำลังปราบปราม ซึ่งเห็นได้จากชัยชนะในการยึดครองเมือง
นครธม (พระนคร) ได้อย่างเด็ดขาดในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 และอีกวิธีหนึ่งคือ การสร้างความสัมพันธ์แบบเครือญาติ อันเห็นได้จากการผนวกกรุงสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร
การล่มสลายของอาณาจักร
ดูเพิ่มที่
การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
ช่วงสมัยรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เกิดการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระเจ้าเอกทัศกับพระเจ้าอุทุมพร เนื่องจากพระองค์ทรงเลือกพระอนุชาขึ้นเป็นกษัตริย์ไม่เป็นไปตามราชประเพณี แต่พระเจ้าเอกทัศก็ทวงบัลลังก์ ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา ครั้นในปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญาทรงนำทัพมารุกรานอาณาจักรอยุธยา พระเจ้าอุทุมพรทรงถูกเรียกตัวมาบัญชาการตั้งรับพระนคร แต่ภายหลังจากที่กองทัพพม่ายกกลับนั้น พระองค์ก็ได้ลาผนวชดังเดิม
ในปี
พ.ศ. 2308 พระเจ้ามังระ บุตรของพระเจ้าอลองพญา ก็ได้รุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง โดยแบ่งกองกำลังออกเป็น 2 ส่วน คือ ฝ่ายเหนือภายใต้การบังคับของเนเมียวสีหบดี และฝ่ายใต้ภายใต้การนำของมังมหานรธา และมุ่งเข้าตีอาณาจักรอยุธยาพร้อมกันทั้งสองด้าน ฝ่ายอยุธยาทำการตั้งรับอย่างเข้มแข็ง และสามารถต้านทานการปิดล้อมของกองทัพพม่าไว้ได้นานถึง 14 เดือน แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งการล่มสลายได้ กองทัพพม่าสามารถเข้าเมืองได้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310าอู่ทองจึงทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุง
ลำดับพระนามปีที่ครองราชย์พระราชวงศ์

1.สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
1893 - 1912 (19 ปี)
อู่ทอง
2.สมเด็จพระราเมศวร (พระราชโอรสพระเจ้าอู่ทอง) ครองราชย์ครั้งที่ 1
1912 - 1913 (1 ปี)
อู่ทอง
3.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)
1913 - 1931 (18 ปี)
สุพรรณภูมิ

4.สมเด็จพระเจ้าทองลัน (พระราชโอรสขุนหลวงพะงั่ว)
1931 (7 วัน)
สุพรรณภูมิ
สมเด็จพระราเมศวร ครองราชย์ครั้งที่ 2
1931 - 1938 (7 ปี)
อู่ทอง
5.สมเด็จพระรามราชาธิราช (พระราชโอรสพระราเมศวร)
1938 - 1952 (14 ปี)
อู่ทอง
6.สมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) (พระราชนัดดาของขุนหลวงพระงั่ว)
1952 - 1967 (16 ปี)
สุพรรณภูมิ
7.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) (พระราชโอรสเจ้านครอินทร์ )
1967 - 1991 (16 ปี)
สุพรรณภูมิ
8.สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พระราชโอรสเจ้าสามพระยา)
1991 - 2031 (40 ปี)
สุพรรณภูมิ
9.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พระราชโอรสพระบรมไตรโลกนาถ)
2031 - 2034 (3 ปี)
สุพรรณถูมิ
10.สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระราชโอรสพระบรมไตรโลกนาถ)
2034 - 2072 (38 ปี)
สุพรรณภูมิ
วีรสตรีแห่งกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระสุริโยไท
พระวิสุทธิกษัตรีย์
พระสุพรรณกัลยา 11.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระราชโอรสพระรามาธิบดีที่ 2)
2072 - 2076 (4 ปี)
สุพรรณภูมิ
12.พระรัษฎาธิราช (พระราชโอรสพระบรมราชาธิราชที่ 4)
2076 (5 เดือน)
สุพรรณภูมิ
13.สมเด็จพระไชยราชาธิราช (พระราชโอรสพระรามาธิบดีที่ 2)
2077 - 2089 (12 ปี)
สุพรรณภูมิ
14.พระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า) (พระราชโอรสพระไชยราชาธิราช)
2089 - 2091 (2 ปี)
สุพรรณภูมิ
ขุนวรวงศาธิราช (สำนักประวัติศาสตร์บางแห่งไม่ยอมรับว่าเป็นกษัตริย์)
2091 (42 วัน)
-
15.สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเทียรราชา)
2091 - 2111 (20 ปี)
สุพรรณภูมิ
16.สมเด็จพระมหินทราธิราช (พระราชโอรสพระมหาจักรพรรดิ)
2111 - 2112 (1 ปี)
สุพรรณภูมิ
17.สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (พระราชบุตรเขยในพระมหาจักรพรรดิ)
2112 - 2133 (21 ปี)
สุโขทัย (พระร่วง)
18.สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พระราชโอรสพระมหาธรรมราชา)
2133 - 2148 (15 ปี)
สุโขทัย (พระร่วง)
19.สมเด็จพระเอกาทศรถ (พระราชโอรสพระมหาธรรมราชา)
2148 - 2163 (15 ปี)
สุโขทัย (พระร่วง)
20.พระศรีเสาวภาคย์ (พระราชโอรสพระเอกาทศรถ)
2163 (ไม่ทราบที่แน่ชัด)
สุโขทัย (พระร่วง)
21.สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พระราชโอรสพระเอกาทศรถ)
2163 - 2171 (8 ปี)
สุโขทัย (พระร่วง)
22..สมเด็จพระเชษฐาธิราช (พระราชโอรสพระเจ้าทรงธรรม)
2171-2173 (2 ปี)
สุโขทัย (พระร่วง)
23.พระอาทิตยวงศ์ (พระราชโอรสพระเจ้าทรงธรรม)
2173 (36 วัน)
สุโขทัย (พระร่วง)
24.สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ออกญากลาโหมสุริยวงค์)
2173 - 2198 (25 ปี)
ปราสาททอง
25.สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (พระราชโอรสพระเจ้าปราสาททอง)
2198-2199 (1 ปี)
ปราสาททอง
26.สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา (พระราชอนุชาพระเจ้าปราสาททอง)
2199 (3 เดือน)
ปราสาททอง
27.สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พระราชโอรสพระเจ้าปราสาททอง)
2199 - 2231 (32 ปี)
ปราสาททอง
28.สมเด็จพระเพทราชา
2231 - 2246 (15 ปี)
บ้านพลูหลวง
29.สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)
2246 - 2251 (6 ปี)
บ้านพลูหลวง
30.สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พระราชโอรสพระเจ้าเสือ)
2251 - 2275 (24 ปี)
บ้านพลูหลวง
31.สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พระราชโอรสพระเจ้าเสือ)
2275 - 2301 (26 ปี)
บ้านพลูหลวง
32.สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (พระราชโอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)
2301 (2 เดือน)
บ้านพลูหลวง
33.สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) (พระราชโอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)